3 คำถามที่ควรต้องถามตัวเองก่อนจะลาออก

quit

“ถึงเวลาที่เราควรจะลาออกหรือยัง ??” ถ้ายังคิดว่าเราจะรอจนกว่าจะรู้สึกว่า ต้องออกจากงาน หรือองค์กร ส่วนตัวคิดว่าอาจจะช้าไปหน่อย บางครั้งอาจจะสายเกินไปเมื่อถึงเวลาที่ต้องออกจากงานจริงๆ และพลาดโอกาสที่จะเลือกงานที่เหมาะกับเรา

ปกติส่วนตัวจะทบทวนตัวเองอย่างน้อยปีละครั้ง ในการประเมินองค์กรที่เราทำงาน ตำแหน่งของคุณพร้อมที่เราทำอยู่ คำถามต่อไปนี้น่าจะช่วยให้เราประเมินตัวเองในจุดที่เราทำอยู่และวางแผนอนาคตการทำงานตัวเราเองได้ดีขึ้น

1. องค์กรที่เราอยู่ ยังดีหรืออยู่ไหม

ดูให้แน่ใจว่าเราไม่ได้อยู่ในองค์กรที่อยู่ในขาลง ซึ่งมีผลต่อการเงินและความก้าวหน้าในอนาคต

  • มีการควบรวมกิจการการ ซื้อกิจการ หรือการเปลี่ยนแปลงการบริหาร และคุณไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงใหม่
  • ฝ่ายบริหารถูกวิพากษ์วิจารณ์ครั้งแล้วครั้งเล่าในเรื่องทิศทางในการดำเนินธุรกิจ
  • องค์กรไม่ลงทุนในผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ และเลือกที่จะให้ความสำคัญกับวิธีการทำสิ่งเก่า ๆ
  • ทีมงาน หัวหน้า หรือผู้บริหารที่เราเคารพ กำลังลาออกจากบริษัท
  • ผลกำไรลดลง แนวโน้มธุรกิจไม่ดี
  • คนนอกได้รับการว่าจ้างในตำแหน่งบริหาร หรือตำแหน่งที่สูงและเริ่มนำเพื่อนของตัวเองเข้ามาทำงานมากขึ้น
  • มาตรการลดต้นทุนดำเนินการโดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าหรือมีเหตุผลเพียงเล็กน้อย

ถ้าสัญญาณเหล่านี้เป็นจริงสำหรับองค์กรขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบ พูดคุยกับคนที่คุณรู้จักที่ลาออกจาก บริษัท ค้นหาในสื่อธุรกิจว่าเป็นองค์กรที่มีปัญหาหรือไม่ มีหลายครั้งที่คุณอาจต้องการเลือกที่จะทำงานให้กับองค์กรที่มีปัญหา แต่ในกรณีที่มีข้อได้เปรียบทางอาชีพเท่านั้น เช่นการเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ต้องพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนองค์กรไปเป็นองค์กรที่ทันสมัย แบบนั้นถึงจะได้เรียนรู้ทักษะและได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ

2. คุณอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือไม่?

งานทีเราทำยังเป็นงานที่ดีในปีนี้อยู่ไหม งานที่ดีที่ว่าหมายถึงคืองานที่ช่วยให้เราเติบโตและเรียนรู้ เป็นงานที่ผู้คนจดจำเราในงานที่กำลังทำอยู่ และหลายอย่างที่เรากำลังทำอยู่นั้นน่าตื่นเต้นและคุ้มค่าที่จะทำ

  • โบนัสหรือหรือเงินเดือนเริ่มไม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอีกต่อไป
  • หัวหน้าไม่ถามความเห็นหรือคุยตรงกับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานของคุณ
  • ไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมที่สำคัญ หรือออกไปรับประทานอาหารกลางวันกับเพื่อนร่วมงาน
  • กำลังทำในสิ่งที่คุณไม่เห็นด้วย หรือคุณเชื่อว่าคุณต้องปกปิดสิ่งที่คุณคิดอยู่ ไม่มีคนรับฟังอย่างแท้จริง
  • เกิดความผิดพลาดตลอดเวลา และคิดไม่ออกว่าทำไมถึงเกิดขึ้น
  • ที่ปรึกษาของคุณออกจากองค์กร หรือตกอยู่ในความไม่พอใจ
  • ไม่สามารถคาดเดาการโปรโมทได้อีกต่อไป หรือใครจะถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด หรือมีการโปรโมทคนที่ไม่คิดว่าเหมาะสม

ถ้าคิดว่าองค์กรของคุณเป็นองค์กรที่ดี เพียงแต่งานของเราไม่เหมาะกับเรา ให้เรามองหาตำแหน่งอื่นในส่วนอื่นขององค์กรดูก่อน อาจจะพูดคุยกับฝ่ายทรัพยากรบุคคล ทำการปรับปรุงประวัติส่วนตัว (CV) อย่าเพิ่งไว้วางใจ พอถึงเวลาต้องตัดสินใจหางานใหม่ จะได้ทำได้ทันทีไม่เสียเวลาและโอกาส

3. ตำแหน่งหน้าที่การงานในอนาคตเป็นอย่างไรกับองค์กรนี้?

คำถามนี้จะต่างจากสองหัวข้อคำถามด้านบนโดยเน้นไปที่ตัวเราเอง เพื่อประเมินอนาคตของตัวเรากับองค์กรว่าเป็นไปในรูปแบบที่เราต้องการหรือไม่

  • เรามีชื่อเสียงที่ดีทั้งในองค์กรและภายนอกในองค์สำหรับอาชีพของคุณ
  • คนในองค์กรโทรหาคุณเพื่อขอความช่วยเหลือและคำแนะนำจากคุณ และเราสามารถช่วยเหลือคนเหล่านั้นได้
  • เรารู้ว่าต้องการเรียนรู้อะไรต่อไป เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในอาชีพของเราทำอยู่
  • เราตามและรับรู้ประเด็นร้อน (trend)ในสายงานได้ ถึงแม้ว่าจะได้ไม่ได้ลงมือทำในงานจริงๆก็ตาม
  • รู้ถึงความท้าทายในตัวงานหรือความรับผิดชอบในอนาคต ถ้าเราได้รับการโปรโมทหรือมีโปรเจ็กงานใหม่มาให้ทำ
  • มีคนที่ให้คำแนะนำ ที่สามารถโทรขอความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนได้ ในองค์กร
  • มีความรู้สึก เสียสละ อยากอาสา สละเวลา เพื่อทำงานอะไรบ้างอย่าง อย่างเต็มใจ

ถ้าคำตอบส่วนใหญ่เป็น “ ใช่” ก็ไม่ต้องกังวล ถือว่าเรามีตำแหน่งที่ดีในการการทำงาน ถ้ายังคิดว่าไม่ใช่ เราควรเริ่มต้นด้วยการมีส่วนร่วมกับเพื่อนร่วมงาน และเข้าร่วมเครือข่ายในสายงานเพิ่มขึ้น

ด้วยสามหัวข้อคำถาม จะช่วยให้เราวิเคราะห์สถานการณ์เบื้องต้นได้ ว่าเราควรลาออกหรือไม่ มีหลายสิ่งอยากให้ลองเช่น ลองถามถึงการโยกย้ายภายในองค์กร หรือพูดคุยกับหัวหน้างานในเรื่องที่กังวล แต่เราเองก็ต้องไม่ประมาทเตรียมแผนสำรองไว้เสมอ คอยปรับปรุงประวัติการทำงานไว้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนตัวจะใช้บริการ Linkedin และ เก็บเอกสาร CV ไว้บน Cloud OneDrive เมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องใช้ จะได้พร้อมเสมอ

reference:- https://hbr.org/2020/02/dont-quit-your-job-before-asking-yourself-these-questions

Photo by Christian Chen on Unsplash

Originally published at https://hatoriz.com/workinglife/3-questions-before-quitting-job/ on October 22, 2020.

--

--

Hatoriz Kwansiripat

Head of Technology and Innovation Delivery, Bank of Ayudhya