ถ้าเราต้องเลือกประโยค เพื่อบอกถึงแก้วน้ำที่มีน้ำอยู่ครึ่งแก้วเราจะเลือกแบบไหน ระหว่าง “แก้วนี้มีน้ำอยู่แค่ครึ่งแก้วเอง” หรือ “แก้วนี้ยังมีน้ำอยู่ตั้งครึ่งแก้ว” คนที่มองโลกในแง่ลบนิยมเลือกคำตอบที่ “แก้วนี้มีน้ำอยู่แค่ครึ่งแก้วเอง” เพราะเค้าคาดหวังให้มีน้ำเต็มแก้ว ในขณะที่ คนที่มองโลกในแง่บวกมักจะตอบว่า “แก้วนี้มีน้ำอยู่ตั้งครึ่งหนึ่ง” เพราะพวกเขาเห็นข้อดีของแก้วที่บรรจุน้ำใบนี้ แขกรับเชิญวันนี้ของ DTX วันนี้คือ พี่เอ๋อ ฐากร ส่วนตัวผมเคยทำที่ Krungsri Consumer ได้ช่วยแกดูทีมพัฒนา UChoose เวอร์ชั่น ปัจจุบันนี่แหล่ะ วันนี้เลยไม่ยอมพลาดที่จะมาฟัง talk ของพี่เอ๋อ…

เปลี่ยนโลกให้เป็นแง่บวก The Art of Being Positive จาก พี่เอ๋อ ฐากร TTB President
เปลี่ยนโลกให้เป็นแง่บวก The Art of Being Positive จาก พี่เอ๋อ ฐากร TTB President

วันนี้มี 1–1 session กับน้อง Technical Product Manager โดยความรับผิดชอบของตำแหน่งนี้ก็จะกว้างโดยเริ่มอยู่แล้ว ครอบคลุมไปตั้งแต่ ตัว product ต้องรู้ details ทั้งมุม business และเชิงลึกทาง technical เรื่องของระยะเวลาในการทำ project เงินที่ใช้ในการทำ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น อีกทั้งมีกระบวนการในการปล่อย product ประเด็นคือ mentee นี้รู้สึกว่าแต่ละวันเค้า focus งานของตัวเองไม่ได้ ขาดสมาธิเพราะจับหลายอย่าง ประชุมหลากหลาย อาจจะมีซ้อนกันไปมาหรือติดกัน ทำงานไปประชุมไป ผลคือไม่ได้ทั้งเรื่องที่ประชุมและงานก็ไม่เสร็จ ผมเลยลองถามเรื่องตาราง celendar แต่ละวันลึกลงไป ก็พบว่าเยอะจริง เลยต้องกลับมาตั้งคำถามว่า จะจัดการยังไงกันดี เลยนึกขึ้นได้ถึงบทความใน HBR.org มีคำถามสามข้อที่ถามกับตัวเองในเรื่องของการตอบรับการเข้าประชุมหรือตอบคำถามเรื่องนั้นๆ

3 คำถามพิจารณาในการบริหารจัดการเวลา
3 คำถามพิจารณาในการบริหารจัดการเวลา

ทำงานเองจริง ไม่ต้องไปเสียเวลา ปิดทองหลังพระแล้วรอให้หัวหน้า หรือคนอื่นมารู้เอง เพราะยุคนี้ทุกคนเองก็ยุ่งกับงานในส่วนของตัวเองมากพอแล้ว จนไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะมีเวลามาสังเกตงานของคนอื่นหรือรู้ได้เองไหม ดังนั้นหาวิธีสื่อสารเรื่องดีที่ถูกจะดีกว่า การ head-up update รายงานในงานที่ได้รับมอบหมาย งานที่เราริเริ่มสร้างสรรค์ในการคิดแก้ไขปัญหา พัฒนาให้ดีขึ้น หรือช่วยเหลือคนอื่นนอกเหนือจากขอบเขตของเรา เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ดี การมี 1–1 กับหัวหน้า ถ้าเค้าไม่นัดมา เราก็ขอนัดไปเองเลย ซึ่งสามารถทำได้แล้วส่วนตัวผมว่าดีด้วยซ้ำ มองเห็นถึงความกระตือรือร้นของเราเองด้วยซ้ำ ยิ่งยุคแห่งการ work from anywhere and any time ถ้าไม่ปรับการสื่อสาร ยังอยู่ใน passive mode รอคนอื่นมาเห็นเอง ส่วนตัวผมว่าไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้นเลย

สื่อสารยังไง แบบที่ไม่ต้องรอให้คนอื่นมารู้เอง
สื่อสารยังไง แบบที่ไม่ต้องรอให้คนอื่นมารู้เอง

“ผมใช้เวลาในวันเสาร์ อาทิตย์ เข้าไปดูวิเคราะห์ปัญหาให้กับลูกค้า แต่ผมไม่เคยบอกใครแม้กระทั้งหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานเลยในช่วงเวลาที่ผ่านมาเกือบ 10 ปี” นี่เป็นหนึ่งในข้อมูลที่ได้จากการทำ Exit Interview ที่ผมไม่เคยลืม รู้สึกไหมว่าคนทำงานสมัยนี้ ย้ายงานกันง่ายและบ่อยมาก โดยเฉพาะสายงาน Technology มันคงเพราะว่ามีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาให้ทดลองทำ มีโปรเจคที่ต้องเปลี่ยนจากเทคโนโลยีเก่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ หรือโปรเจคใหญ่ที่ขาดกำลังคนด้าน Technology ทำให้เกิดความไม่สมดุลใน Demand Supply ขึ้น หรือสาเหตุอื่นในช่วง 1–2 ปีมานี้ ที่เราเริ่มจะ Work From Home กัน การประชุมออนไลน์ที่ขาดการเห็นหน้าเห็นตา ขาดปฏิสัมพันธ์ การพูดคุยแบบไม่เป็นรูปแบบที่ร้านกาแฟหรือตู้กดน้ำที่ออฟฟิศ สิ่งเหล่านี้ทำให้การลาออกเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น เมื่อมีการลาออก กิจกรรมหนึ่งที่หลายที่เคยทำกลับถูกมองข้ามไปเช่นการทำ Exit Interview การทำ Exit Interview ที่ว่าไม่ได้หมายถึงว่า พอเรารู้ว่าจะมีคนลาออกแล้วก็นัดคุยเพื่อโน้มน้าวให้อยู่ สอบถามเหตุผล แต่หมายถึงการทำ interview ก่อนการลาออกที่แน่ชัดแล้วเพื่อจุดประสงค์บางอย่าง…

ทำไมยังอยากให้ทำ Exit Interview
ทำไมยังอยากให้ทำ Exit Interview

อ่าน “วิชาเดินทางหลังเลิกเรียน” แล้วรู้สึกอย่างไรบ้างหรอ อืม เหมือนได้ย้อนวัยกลับไปสมัยเรียนจบใหม่ๆ กี่ปีน่ะหรอ 15 ปีได้แล้วมั้ง (นับจากปี 2021) คือเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียน “น้องพลอย” เลย พราะเวลาที่เราเรียนไม่ว่าจะมัธยมหรือมหาวิทยาลัย ก็จะมีรูปแบบแพทเทิร์น ตารางการเรียนหรือเป้าหมายเป็นช่วงให้เราได้เรียนตามหรือเลือกปรับได้นิดหน่อย ที่นี้พอเราเรียนจบแล้ว ทางเลือกของชีวิตเรียกได้ว่าอิสระ หมายความทางเลือกนั้นหลากหลายมาก ผู้เขียนถือว่าโชคดีที่มีโอกาสได้ทำงานเป็นนักแสดงระหว่างที่เรียน ซึ่งน่าจะทำให้มีมุมมองกว้างขึ้นในเรื่องของการทำงาน

รีวิวหนังสือ — วิชาเดินทางหลังเลิกเรียน
รีวิวหนังสือ — วิชาเดินทางหลังเลิกเรียน