Play to your strength — ค้นหาจุดแข็งในตัวคุณ

Hatoriz Kwansiripat
1 min readApr 22, 2019

--

คนเราปกติมักจำได้แต่เรื่องที่ไม่ดี กังวลกับจุดอ่อนของตัวเอง เราจึงมักเสียเวลากับการพัฒนาจุดอ่อนมากกว่าจุดแข็งของตนเอง ซึ่งไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับคนคนนั้นหรือองค์กรมากเท่ากับการให้เวลาไปที่การพัฒนาจุดแข็ง ยกตัวอย่างเช่น นักฟุตบอลแนวรับ อาจไม่จำเป็นที่ต้องการพลังการเตะเท่ากับผู้เล่นกองหน้า เป็นต้น

จากบทความของ HBR ที่ชื่อว่า “How to play to your strength” พูดว่า การประเมินผลพนักงานที่ถึงจะทำงานได้ผลงานที่ดี หัวหน้างานก็มักจะให้ feedback ที่เป็น “opportunities for improvement” จากงานวิจัยพบว่า เรามักจะนึกถึง เรื่องที่ต้องปรับปรุงหรือจุดอ่อนได้มากกว่าเรื่องที่ดีหรือจุดแข็งของเรา อัตราส่วน 4 ต่อ 1 เลยทีเดียว

คำแนะนำคือ การพัฒนาทักษะที่ดีนั้น เราควรจะเน้นไปที่การพัฒนาจุดแข็ง และใช้จุดแข็งของเราให้เป็นประโยชน์

ขั้้นตอนในการค้นหาจุดแข็งมี 4 ขั้นหลักคือ

1. Get your Feedback

เก็บรวบรวม feedback จากคนรอบข้างที่เราทำงานด้วย คนที่สามารถให้ feedback ที่เป็นประโยชน์กับเรา อาจจะใช้ STAR pattern เป็นแนวทางการให้ feedback ที่ดีได้

2. Feedback Grouping and Analysis

grouping เพื่อดู pattern ที่คล้ายหรือเหมือนกัน รวมเป็น common topic ระบุตัวอย่าง feedback เพื่อวิเคราะห์ว่าเราทำได้ดีหรือชอบเรื่องอะไร

3. Define Your Strength

สรุป คุณสมบัติและจุดแข็ง ที่ได้จาก feedback เพื่อดูว่าอะไรเป็นสิ่งที่เราทำได้ดี มีแนวโน้มที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด ด้วยแนวคิดที่ว่า “whem I am at my best” เพื่อสะท้อนถึงตัวเราในอานคตที่พัฒนาไปอีกระดับที่เรียกว่า “possible self”

4.Define Your Work and Responsibility for Growth

ระบุตัวงานและความรับผิดชอบ ที่ช่วยเสริมให้เราพัฒนาจุดแข็ง โดยที่สัมพันธ์กับงานปัจจุบันและงานในอนาคตที่อยากทำ

มาถึงจุดนี้ เราลองมาค้นหาจุดแข็งและใช้มันให้เต็มประสิทธิภาพกันดีกว่า

--

--

Hatoriz Kwansiripat
Hatoriz Kwansiripat

Written by Hatoriz Kwansiripat

Head of Technology and Innovation Delivery, Bank of Ayudhya

No responses yet